คลินิกฝังเข็ม บีบีเวลเนส

 
ศูนย์ดูแลสุขภาพที่เป็นผู้นำในการนำศาสตร์ตะวันออก
ที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยเวลาที่ยาวนานมากว่า 4,000 ปี
Previous
Next

การฝังเข็มคือศาสตร์หนึ่งในการรักษาผู้ป่วยแผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันยาวนานมากว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการ คือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย เพื่อทำให้ลมปราณ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล โดยในปัจจุบันองการอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการ ฝังเข็มในโรคบางชนิด ได้ผลดีมาก รวมทั้งล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดศีรษะไมเกรน การรักษา ด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเท่ากับหรือมากกว่าการใช้ยา โดยไม่ต้องเสี่ยง ต่อผลข้างเคียงอีกด้วย

หากนอนฝังเข็ม หลังถอนเข็มให้นอนพัก1-2 นาที ตรวจสอบตามร่างกายว่าไม่มีเข็มหลงเหลือแล้วจึงค่อยลุกขึ้นนั่ง หลังฝังเข็มเสร็จสามารถกินอาหาร ทำกิจวัตรได้ตามปกติ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารตามปกติ
  • ใส่เสื้อกางเกงหรือกระโปรงที่หลวมสบายตัว
  • สามารถพับขึ้นเหนือศอกและเข่าได้
  • นอนหรือนั่งในท่าที่สบาย ไม่เกร็ง
  • ขณะนอนฝังเข็มทำใจให้สบาย คิดถึงเรื่องที่มีความสุข ไม่เครียด 
    หรือวิตกกังวลเรื่องใดๆ

เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ – เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รักษา – เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน เวียนศีรษะ บ้านหมุน

นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า

ปวดบริเวณต่างๆ ปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ

หมอนรองกระดูก – กระดูกทับเส้นประสาท

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดข้อศอก

ปวดข้อเท้า ปวดฝ่าเท้า เอ็นอักเสบ

ภูมิแพ้ หอบหืด โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์

โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน

ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ

ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

อัมพฤกษ์ อัมพาต . อัมพาตใบหน้าปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรง

เพิ่มภูมิต้านทาน

ฝังเข็มกระชับใบหน้า  ความงาม

ลดความอ้วน

ทำไมต้องรักษาด้วยการฝังเข็ม? "

1) การฝังเข็มเป็นการมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ควบคู่ไปกับอาการ

  • ดังนั้นโรคบางโรคที่เราต้องกินยาเพื่อรักษาเฉพาะอาการปลายเหตุบ่อยๆ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน กรดไหลย้อน สามารถหายขาดได้ หากไม่มีปัจจัยกระตุ้นอีก
  • นอกจากนี้ ยังการฝังเข็มยังช่วยบำรุง และปรับเข้าสู่สมดุลของร่างกาย ป้องกันไม่ให้เป็นโรคอื่นๆที่มีเหตุเดียวกันนี้อีก เพราะศาสตร์จีนเป็นการรักษาแบบองค์รวม ไม่ได้แยกรักษาตามอาการ หรือโรคต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี มากกว่ารักษาแค่ตัวโรคค่ะ

2) หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมีเข้าในร่างกายโดยไม่จำเป็น

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยารักษาโรคต่างๆแม้จะมีข้อดี แต่ปัจจุบันพบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผลข้างเคียงของยามากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ มีผลต่อตับ ไต กล้ามเนื้อ 

หากโชคไม่ดีผลข้างเคียงที่รุนแรงที่อาจพบได้จากยาแก้ปวดแบบแรง ยาคลายเส้น ยาแก้ยอกต่างๆ คือ อาจทำให้ไตวาย เลือดออกในกระเพาะได้ หรือ หากเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวด แบบที่ไม่กัดกระเพาะที่เราต้องซื้อราคาแพง ก็อาจมีผลข้างเคียงคือ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้นเช่นกัน 

ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ว่ายา ไม่มีข้อดีเลย เพียงแต่เราควรใช้ยาแต่จำเป็นเท่านั้น และเป็นทางเลือกท้ายๆ หลังจากการปรับพฤติกรรมการกิน การนอน การออกกำลังกายแล้ว ซึ่งการฝังเข็มก็จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้ คือ หลังจากปรับพฤติกรรมแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ก่อนการใช้ยาก็สามารถใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มได้ โดยเฉพาะโรคปวดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง หากกินยาเป็นประจำ ก็จะเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงมากขึ้น เนื่องจากการฝังเข็ม สามารถลดอาการปวดได้ดีมาก 

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) เองก็ยังยอมรับแล้ว บางคนไม่สามารถแก้ที่ต้นเหตุได้ เช่น ข้อเข่าที่เสื่อมไปแล้ว การฝังเข็มก็จะช่วยลดการใช้ยาได้ บางคน ไม่ต้องกินยาอีกเลย บางคนเดิมกินยาทุกวันเป็นเดือนๆหมอบอกไม่ให้ทานติดต่อเกิน 7 วัน แต่ปวดมากและไม่อยากเสี่ยงเรื่องการผ่าตัด ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงไปซื้อยามาทานต่อเอง หลังจากมาฝังเข็มแล้ว พบว่าอาการดีขึ้น ซึ่งช่วงแรกอาจต้องมาบ่อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ต่อมาก็ห่างขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือเดือนละครั้งหรือ 2 ครั้ง โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่เสี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยา

" ต้องมารักษากี่ครั้ง? "

แล้วแต่พื้นฐานร่างกายค่ะ ให้คุณหมอพิจารณาอีกครั้ง บางคน 2 – 3 ครั้งหายแล้ว เนื่องจากพื้นฐานร่างกายดี แต่ถ้าอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ส่วนร่างกายของเราจะมีการพร่องอยู่บ้างแล้ว ก็คือต้องการการบำรุงเพื่อปรับเข้าสู่สมดุล เพราะถึงแม้จะหายจากอาการแล้ว แต่ร่างกายก็ต้องการการบำรุง ปรับสภาพพื้นฐานภายในด้วย การมาฝังเข็มให้ครบตามที่คุณหมอแนะนำจะช่วยให้โอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อยลงค่ะ

" ฝังเข็มแล้วหายขาดเลยไหม?

ทางศาสตร์จีนจะแบ่งอาการเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ คือ ‘อาการแกร่ง’ ซึ่งหมายถึง ภาวะร่างกายที่ปกติ แต่มีสิ่งภายนอกมารบกวน ทำให้เสียสมดุล เลือดลมติดขัด เกิดอาการต่างๆขึ้น (ลมในที่นี้ คือ ลมปราณ หรือ ที่เรียกว่า ชี่ ในศาสตร์แพทย์แผนจีน ซึ่งหมายถึง พลังงานที่ไหลเวียนในร่างกาย ช่วยให้อวัยวะต่างๆ และร่างกาย ทำงานได้อย่างปกติค่ะ) ส่วนใหญ่เกิดในคนหนุ่มสาว ภาวะนี้ จะใช้เวลาในการรักษาสั้น บางคนรักษาเพียง 1 ครั้งหายขาดเลย ไม่เป็นอีก ถ้าไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นรบกวนนั้นๆอีก

ส่วนอีกภาวะหนึ่ง คือ ‘อาการพร่อง’ ซึ่งเกิดจากภาวะร่างกายที่มีการทำงานลดลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และมีสิ่งรบกวนมากระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น ส่วนใหญ่พบในวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งการรักษานอกจากจะรักษาอาการที่แสดงออกมาให้เห็นแล้ว ยังต้องบำรุงร่างกายภายในด้วย เป็นการปรับสภาพพื้นฐานของร่างกาย ซึ่งต้องใช้เวลา เพื่อให้ร่างกายที่เสียสมดุลเป็นเวลานานได้ฟื้นฟู 

หากอยู่ในกรณีนี้ บางคนไม่เข้าใจรักษา ครั้งเดียวยังไม่ดีขึ้น จึงไม่ได้มารักษา อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้ามีวินัยรักษาอย่างสม่ำเสมอก็จะรักษาได้ผลดีค่ะ

" ฝังเข็มเจ็บไหม? "

การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 – 0.3 mm ( ขนาดเข็มเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 6-8 เท่า จึงเจ็บน้อยกว่า ) ฝังตามบริเวณต่างๆของร่างกาย ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงนำเข็มที่ฝังไว้ออก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เจ็บ หรือ เจ็บเพียงเล็กน้อย อาจมีบางจุดที่ผิวหนังมีเส้นประสาทมากอาจมีความเจ็บบ้าง ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ในกรณีจำเป็นที่เป็นจุดที่ได้ผลดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนด้วยค่ะ ข้อแนะนำคือผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ ก็จะไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยที่สุดค่ะ

" กินยาแผนปัจจุบันอยู่ ฝังเข็มได้ไหม? "

ส่วนใหญ่ฝังเข็มได้ไม่มีปัญหาค่ะ เพราะฝังเข็มไม่ได้ใช้ยา ทำให้ไม่ต้องกลัวการไปเพิ่มผลข้างเคียงของยาที่รับประทานอยู่ อย่างไรก็ตามแนะนำให้แจ้งยาที่รับประทานอยู่และโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบด้วยค่ะ

" ฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร? "

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน บริเวณต่างๆทั่วร่างกาย มีพลังงานไม่เท่ากัน การฝังเข็มจะเป็นการใช้เข็มฝังบริเวณที่เป็นเส้นทางเดินของพลังงาน คือบริเวณที่มีพลังงานผ่านมาก เป็นการช่วยกระตุ้นลมปราณ หรือพลังงานที่ไหลเวียน ติดขัด ไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยระบายเลือดที่คั่งเนื่องจากการไหลเวียนไม่ดีให้ไหลเวียนดีขึ้น ระบายความร้อน สิ่งสกปรก ที่สะสมหรือสารพิษ ที่มีเกินออก และบำรุงให้ความชุ่มชื้น ซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกายที่เสียสมดุล ไปให้กลับเข้าสู่สมดุลนั่นเองค่ะ

" ประเทศจีนใช้การรักษาแบบฝังเข็มเมื่อไรบ้าง? "

ตามหลักการแพทย์แผนจีน การดูแลรักษาสุขภาพมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ lifestyle การกินอาหารครบ5หมู่ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การนวด หรือ กดจุด
  • การฝังเข็ม
  • การใช้ยา

จะเห็นว่า การฝังเข็มมาก่อนการใช้ยา

เนื่องจากเราจะเริ่มเลือกการรักษาด้วยการปรับสิ่งที่ปรับได้ง่าย และ ไม่มีผลข้างเคียงก่อน ขั้นต่อไปหากไม่หายค่อยขยับไปทีละขั้น เนื่องจากการใช้ยาแรงขึ้นก็มีผลข้างเคียงมากขึ้นตามลำดับค่ะ

โดยทั่วไปการแพทย์จีนในปัจจุบัน จะเป็นการผสมผสานทั้งศาสตร์ตะวันออกและศาสตร์ตะวันตก โดยการฝังเข็มก็จะมีอยู่ในโรงพยาบาลเลย โรคที่ต้องการการรักษาด้วยศาสตร์ตะวันตก เช่น โรคติดเชื้อ โรคที่ต้องผ่าตัดต่างๆ ก็ทำตามแบบตะวันตก แล้วใช้ฝังเข็มและยาจีน เป็นตัวเสริมในการฟื้นฟูสุขภาพ 

ส่วนโรคที่พบบ่อยในคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินการอยู่ของเราเอง หรือก็คือโรคเรื้อรังทั้งหลาย เช่น เบาหวาน ความดัน เส้นเลือดสมองตีบ หรือแตก เส้นเลือดหัวใจตีบ กรดไหลย้อน ปวดหลัง ข้อเสื่อม ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะไมเกรน ก็จะใช้การรักษา แบบตะวันออก เน้นการปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย ชี่กง ไทเก๊ก การฝังเข็ม หากยังไม่ดีขึ้น ค่อยใช้ยาเข้ามาช่วย เป็นการนำข้อดีของแต่ละศาสตร์มาเสริมกัน ทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นค่ะ

กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ปวดจุกแน่นท้อง : การฝังเข็มรักษาช่วยได้อย่างไร ?

กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ปวดจุกแน่นท้อง : การฝังเข็มรักษาช่วยได้อย่างไร ? อาการกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ปวด จุกแน่น บริเวณท้องเหนือสะดือ หรือ ลิ้นปี่ อาการมักเป็นก่อน หรือ หลังมื้ออาหาร เรอเปรี้ยว เรอบ่อย ขมในคอ จุกแน่นบริเวณคอ รู้สึกมีอะไรมาจุกที่คอ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาจมีถ่ายเหลว ท้องเสียร่วมด้ว

อ่านต่อ »

กระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูก : การฝังเข็มรักษา

กระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูก : การฝังเข็มรักษา  อาการของโรคกระดูกทับเส้นประสาทส่วนเอว มักเป็นในผู้สูงอายุ ปวดบริเวณหลัง อาจมีปวดร้าวลงขาด้านหลัง หรือด้านข้าง ชา หรือ อ่อนแรงบริเวณขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือ สองข้าง ลักษณะค่อยๆเป็นมากขึ้น ไม่ได้เป็นทันทีทันใด เดินนานๆแล้วรู้สึกขาไม่มีแรง ต้องหยุดพักน

อ่านต่อ »

นอนกรน, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) : การฝังเข็มรักษา

นอนกรน, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) : การฝังเข็มรักษา การกรน เกิดจาก เวลาที่เรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆจะคลายตัว ทำให้หย่อนมาปิดทางเดินหายใจของเรามากกว่าปกติ ลมที่ผ่านเข้าออกรูที่เล็กลง จึงทำให้เกิดเสียงกรนได้ คนทั่วไปสามารถกรนได้บ้างเป็นปกติ อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea, OSA)

อ่านต่อ »

นอนไม่หลับ : ฝังเข็มรักษาได้อย่างไร ? โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ

นอนไม่หลับ : ฝังเข็มรักษาได้อย่างไร ? โดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ ประเภทของอาการนอนไม่หลับ ช่วงต้น คือ เข้านอนแล้วนอนไม่หลับ ใช้เวลาก่อนหลับนาน มักเกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวล ช่วงกลาง คือ นอนหลับๆตื่นๆ นอนตื่นบ่อย มักเกี่ยวข้องกับ โรคเรื้อรังต่างๆ อาการปวด หรือ โรคซึมเศร้า ช่วงปลาย คือ ตื่นเร็วกว่าที่ควร แ

อ่านต่อ »

ปรับสมดุลร่างกาย : ฝังเข็มศาสตร์จีน

ปรับสมดุลร่างกาย : ฝังเข็มศาสตร์จีน ในศาสตร์จีนเชื่อว่า โลกของเรามีทั้งหยิน (เย็น/มืด) หยาง (ร้อน/สว่าง)สมดุลกัน ร่างกายของเราก็เช่นกัน หากร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลหยินหยาง ก็จะไม่เกิดโรคขึ้น ทุกคนคงเคยมีอาการ เช่น ป่วยไม่สบายบ่อย เป็นหวัดบ่อย เวียนศีรษะ มึน อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม หลงลืมง่าย ซึ่งแพทย์แ

อ่านต่อ »

ปวดท้องประจำเดือน : การฝังเข็มรักษาช่วยได้อย่างไร ? โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด

ปวดท้องประจำเดือน : การฝังเข็มรักษาช่วยได้อย่างไร ? โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด อาการปวดท้องประจำเดือนที่ต้องตรวจรักษา อาการปวดเกินช่วง 1-3 วันก่อนหรือหลังเริ่มมีประจำเดือน อาการปวดที่เป็นมากขึ้นทุกเดือน หรือ ต้องใช้ขนาดยาแก้ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นอยู่นานเกิน 3-6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้ไปตรวจกับสูตินรีแพทย์นะ

อ่านต่อ »

ปวดศีรษะ ไมเกรน : ฝังเข็มรักษาโรค

ปวดศีรษะ ไมเกรน : ฝังเข็มรักษาโรค ปวดศีรษะ ไมเกรนมีลักษณะดังนี้ การปวดศีรษะที่มากหรือ นานกว่าปวดศีรษะทั่วไป ส่วนใหญ่เกิน 3 ชั่วโมง โดยอาจเป็นนานถึง3 วัน ลักษณะมักเป็นปวดตุ้บๆตามชีพจร ปวดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ เคลื่อนไหวแล้วเป็นมากขึ้น อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการเห็นแสง หรือ ได้ยินเสียงนำมาก่

อ่านต่อ »

ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม : การฝังเข็มรักษา

ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม : การฝังเข็มรักษา  ลักษณะอาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ปวดบริเวณกล้ามเนื้อหลัง คอ บ่า ไหล่ กล้ามเนื้อตึง แข็ง เกร็ง การทำงานอยู่ท่าเดิมนานๆ หรือ ยกของหนักจะทำให้เป็นมากขึ้น การรักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม การยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง กา

อ่านต่อ »

ปวดเข่า เอ็นเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม : การฝังเข็มรักษา

ปวดเข่า เอ็นเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม : การฝังเข็มรักษา ลักษณะอาการ เอ็นเข่าอักเสบ ปวดบริเวณเข่า มักเป็นด้านใดด้านหนึ่ง เช่นเข่าด้านใน หรือ ด้านหลังข้อเข่า เป็นหลังออกกำลังกาย วิ่ง เดินขึ้นลงบันได หรือใช้งานหนัก มักเป็นในวัยรุ่นที่เป็นนักกีฬา หรือวัยทำงานขึ้นไป ลักษณะอาการ ข้อเข่าเสื่อม ปวดรอบข้อเข่า

อ่านต่อ »

ฝังเข็มช่วยลดสิว ลดเลือนริ้วรอย บำรุงผิวพรรณใบหน้าได้อย่างไร ?

ฝังเข็มช่วยลดสิว ลดเลือนริ้วรอย บำรุงผิวพรรณใบหน้าได้อย่างไร ? การฝังเข็มศาสตร์จีนช่วยบำรุงผิวพรรณใบหน้าอย่างไร? กระตุ้นเลือดลมให้ไหลเวียนดีขึ้นบริเวณใบหน้า ซึ่งทำให้ใบหน้าสดใส ลดความหมองคล้ำและริ้วรอยบริเวณใบหน้า บำรุงร่างกายให้มีความชุ่มชื้น เลือดลมไหลเวียนดีทั่วร่างกาย ร่างกายขับของเสียได้มีประสิ

อ่านต่อ »

ฝังเข็มศาสตร์จีน : ฝังเข็มคืออะไร ? รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

ฝังเข็มศาสตร์จีน : ฝังเข็มคืออะไร ? รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?  การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร ? การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทำให้พลังงาน และอวัยวะต่

อ่านต่อ »

ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หอบหืด ผื่นแพ้ผิวหนัง ลมพิษ : การฝังเข็มรักษา

ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หอบหืด ผื่นแพ้ผิวหนัง ลมพิษ : การฝังเข็มรักษา โรคภูมิแพ้ หอบหืด ไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่ องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) ได้ยอมรับว่าการฝังเข็มรักษา เป็นการรักษาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพดี สามารถช่วยลดความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาการเป็นได้อย่างดี อาการโรคภูมิแพ้ ม

อ่านต่อ »

แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กมาก (0.1 – 0.3mm) ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกายอาจใช้มือหมุนเข็ม
เพื่อกระตุ้นเล็กน้อย หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้นถอนเข็มออก

โดยควรฝังเข็มประมาณ สัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้ง
ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลการรักษาดีที่สุด